https://spirit-heart.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0

"กรรม" ในพระพุทธศาสนา

ในพระพุทธศาสนา กรรม (สันสกฤต: กรฺม, บาลี: กมฺม) 
แปลว่า การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา” 
ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา
 เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม

กรรม


กรรม ในพระพุทธศาสนากรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม – Kamma: action; deed)
1.อกุศลกรรม (กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ หรือโมหะ – Akusala-kamma: unwholesome action; evil deed; bad deed)

2.กุศลกรรม (กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คืออโลภะ อโทสะ หรืออโมหะ -Kusala-kamma: wholesome action; good deed)
การจำแนกประเภทของกรรม
กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม 
สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
-กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
-กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
-กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
-กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง


จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรมการกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของ

กรรม มี 4 อย่าง คือ
1.ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
2.อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
3.อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป
4.อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีน

จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ 
ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ

1.ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
2.อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม 
ต่อจากชนกกรรม
3.อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรม
และอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
4.อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว

จำแนกการให้ผลของกรรม
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 
จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง

1.ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) 
หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
2.พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน 
ให้ผลรองจากครุกรรม
3.อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อ
จวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
4.กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว 
นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป 

(กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) กตัตตากรรมนี้ ในตำรา
ทางพุทธศาสนาหลายแห่ง (เช่น หนังสือกรรรมทีปนี 
พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม และหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ)
 ได้บรรยายไว้ว่า หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน 
หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล

จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผล
ของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่น ๆ ข้างต้นเป็นการ
แสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
1.อกุศลกรรม
2.กามาวจรกุศลกรรม
3.รูปาวจรกุศลกรรม
4.อรูปาวจรกุศลกรรม
ขอบคุณที่มา : wikipedia https://th.wikipedia.org
ขอบคุณรูปภาพ : http://www.bantamboon.com/?p=263

โพสต์แนะนำ