https://spirit-heart.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0

เจ้าหญิงปทุมวดี





เรื่องโสวัตหรือโสวัตนางประทุม เป็นนิทานโบราณที่ได้รับคามนิยมในสังคมไทยสมัยอยุธยาสืบมาถึงสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น กวีไทยในอดีตนำเรื่องนี้มาประพันธ์เป็นบทละคร บทสำหรับเล่นหุ่นและคำกาพย์หรือกลอนสวด แม้เรื่องดังกล่าวจะไม่ปรากฏในปัญญาสชาดก แต่ในเอกสารสมุดไทยเรื่อง “โสวัตกลอนสวด” ระบุว่าเป็นเรื่องของพระโพธิสัตว์ จึงจัดเป็นชาดกอีกลักษณะหนึ่ง เรื่องย่อตามที่กล่าวในกลอนสวด


ประวัตินางประทุมวดี

เจ้าหญิงปทุมวดี พระพี่เลี้ยงในพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์พระองค์แรกในอาณาจักรหริภุญชัย โดยเจ้าหญิงปทุมวดีได้อภิบาลเคียงคู่กับเจ้าหญิงเกษวดีซึ่งเป็นพระขนิษฐา



เจ้าหญิงปทุมวดี พระราชธิดาในพระเจ้าทศราช แห่งกรุงรัตนปุระ ซึ่งต่อมาภายหลังพระเจ้าทศราชผู้เป็นราชบิดา ได้พระราชทานเจ้าหญิงปทุมวดี และเจ้าหญิงเกษวดีให้แก่พระจักกวัติ พระเจ้ากรุงละโว้ เพื่อเป็นพระพี่เลี้ยงคอยถวายการดูแลพระนางจามเทวี พระธิดาพระองค์ใหม่ รวมทั้งเป็นผู้ถวายการสอนวิชาศิลปะศาสตร์แขนงต่างๆ เพิ่มเติมแก่พระธิดาน้อยด้วย)

เจ้าหญิงปทุมวดี พร้อมด้วยพระขนิษฐาได้ทำการบภิบาลพระนางจามเทวีกว่า 66 ปี จนเมื่อพระนางจามเทวีสละราชสมบัติให้พระเจ้ามหันตยศขึ้นครองราชย์ พระนางจามเทวีจึงได้สละเพศฆราวาสครองผ้าขาว และจำศีลที่วัดจามเทวี ส่วนเจ้าหญิงปทุมวดี และพระน้องนางก็ได้สละเพศฆราวาสเช่นกัน และจำศีลที่สำนักศิวะการามเมืองหน้าด่าน ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแยกจากพระนางจามเทวีครั้งแรกหลังจากที่เจ้าหญิงทั้งสองได้ถวายการปรนนิบัติดูแลพระนางมาเป็นเวลาถึง 66 ปีเต็ม และก็เป็นการแยกจากกันชั่วนิรันดร์

ต่อมาอีก 36 ปีให้หลัง คือ พ.ศ. 1272 เจ้าหญิงปทุมวดี และพระน้องนางคือเจ้าหญิงเกศวดีก็สิ้นพระชนม์ ณ สำนักศิวะการามนั้นเอง พระเจ้ามหันตยศโปรดฯ ให้รักษาพระศพไว้ 1 ปี จึงมีพระราชพิธีถวายพระเพลิงเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 1293

การค้นพบบันทึกสมุดข่อย "พระราชชีวประวัติพระแม่เจ้าจามะเทวี" ที่ถ้ำเทือกเขาขุนตาล ในเขตจังหวัดลำพูน

ต้นฉบับเป็นอักษรลานนาได้ค้นพบโดย "คุณสุทธวารี สุวรรณภาชน์" เมื่อประมาณพ.ศ.๒๕๐๘ เนื้อเรื่องทั้งหมดได้จัดพิมพ์โดย "ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนอง วรอุไร" อาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๕

เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ถูกบันทึกไว้จากผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่ในสมัยนั้น เรียกว่าทันต่อเหตุการณ์ ไม่ใช่ฟังเขาเล่าว่าเท่านั้น นับว่าเป็นหลักฐานที่หายากและน่าเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง


[ ภาค 3 ตอนที่ 16 ]

(Update 24 กุมภาพันธ์ 2561)


พระราชชีวประวัติ "พระแม่เจ้าจามะเทวี"


....ในโอกาสนี้ จึงขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่างเฉพาะบางตอน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาประวัติศาสตร์ สมัยย้อนหลังไปประมาณพันปีเศษว่า

ผู้คนที่อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ เป็นชนชาติใด ภาษาใด สืบทอดวัฒนธรรมประเพณี และมีศาสนาอะไรประจำใจ..?

เมื่ออ่านไปแล้วก็คงจะจำได้ว่า ไม่ใช่ใครที่ไหน คงจะเป็นพี่ไทย...นี่เอง ไม่ได้เป็นจีน ไม่ได้เป็นแขก ไม่ได้เป็นขอมแต่อย่างใด

เพราะข้อความต่อไปนี้ เป็นบันทึกของ "พระพี่เลี้ยงของพระแม่เจ้า" ซึ่งอุปภิเษกสมรสร่วม "พระแม่เจ้าจามะเทวี" ซึ่งอ่านโดยมิได้เรียบเรียงใหม่ คงให้ตามเดิม เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เห็นว่า คำพูดสมัยพันกว่าปีใช้สำนวนอย่างนี้เอง เว้นไว้แต่บางคำจะ () เพิ่มเข้าไปด้วย

บันทึกของ "พระพี่เลี้ยงปทุมวดี"

.....เราคือ "ปทุมวดี" และน้องเราคือ "เกษวดี" เจ้าลุง "พระเจ้านพรัตน์ เจ้าแม่มัณฑนาเทวี " ให้เราและน้องเราเป็นพี่เลี้ยง "เทวี" ที่เจ้าลุงและเจ้าป้ารับมาเป็นราชธิดา

ท่านฤาษี (วาสุเทพฤาษี) ส่งมาจาก "ระมิงค์นคร" (เชียงใหม่) เมื่อพุทธศก ๑๑๙๐ อันตัวเราและน้องเรา เป็นธิดา "เจ้าพ่อทศราช เจ้าแม่ผกาเทวี"

"เจ้าลุงนพรัตน์" เป็นพี่แห่งเจ้าแม่เรา เราทั้งสองยังมีพี่น้องชายหญิงอีกสี่คน น้องเรานั้นอยู่กับเจ้าพ่อเจ้าแม่แห่ง "รัตนปุระนคร"

เราและน้องเราอยู่กับเจ้าลุงและเจ้าป้า แต่ยังเล็ก ๆ อันเทวีน้อยนี้ เจ้าลุงเจ้าป้าประทานนามว่า "เจ้าหญิงจามะเทวี ศรีสุริยวงศ์ บรมราชขัตติยนารี รัตนกัญญา ลวะบุรีราเมศวร"

เราเป็นผู้สอนอักขระและการหัตถกรรม ส่วนน้องเราให้วิชาตำรับพิชัยสงครามและเพลงอาวุธ น้องหญิงจามะเทวีฯ เป็นดาบคู่และธนูไม่แพ้ชาย ยังชำนาญในพิณอย่างยิ่ง

น้องหญิงจามะเทวีฯ มาอยู่กรุงละโว้เมื่อพระชนมายุได้ ๑๔ รอบ จึงเมื่อพระราชธิดาเจริญวัยได้ ๒๒ รอบ จึงอุปภิเษกสมรสกับ "เจ้าราม" ผู้เป็นโอรสผู้พี่แห่งบิดาเรา เมื่อปีพุทธศกได้ ๑๑๙๘

ตัวเราและน้องเราก็อุปภิเษกกับเจ้าราม พร้อมกับน้องหญิงจามะเทวีฯ ขณะนั้น เราได้ ๒๘ รอบ น้องเรา ๒๖ รอบ

จวบกระทั่งน้องหญิงจามะเทวีฯ ถูกรับไปครอง "นครหริภุญชัย" เมื่อพุทธศกได้ ๑๒๐๑ น้องหญิงพระชนม์ได้ ๒๕ รอบ ท่านฤาษีเฉลิมนามน้องหญิงว่า "เจ้าแม่จามะเทวี บรมราชนารี ศรีสุริยวงศ์ องค์บดินทร์ปิ่นธานีหริภุญชัย"

เราทั้งสองได้ติดตามมายังนครหริภุญชัย เจ้าแม่ให้กำเนิดโอรสฝาแฝดแต่ "นครละโว้" ซึ่งเจ้าลุงเจ้าป้าประทานนามโอรสผู้พี่ว่า "มหันตยศฯ" และโอรสผู้น้องว่า "อนันตยศฯ" โอรสทั้งสองมาสู่หริภุญชัยด้วยเจ้าแม่

และเราให้กำเนิด "เจ้าชัยรัตน์ฯ" ซึ่งเป็น "พญาโหราธิบดินทร์" ในแผ่นดิน "เจ้าเกษวดี" น้องเราให้กำเนิดกุมารีแฝดคือ "เจ้าจันทราฯ" และ "ผกามาศฯ" เจ้าแม่ให้อุปภิเษกเจ้ามหันตยศฯ ด้วยจันทราฯ และอนันตยศฯ ด้วยผกามาศฯ เราและน้องเราอยู่กับเจ้าแม่จนสิ้นสังขาร…”

ข้อความจากภาษาลานนานี้ “หนานทา” เป็นผู้อ่านให้ "คุณสุทธวารี" ฟังพอจะสรุปได้ว่า “เจ้ารามราช” ทรงมีพระมเหสี ๓ พระองค์ คือ "พระแม่เจ้าจามะเทวี, พระนางปทุมวดี, และพระนางเกษวดีพระแม่เจ้า" ดังนี้

[ ภาค 3 ตอนที่ 19 ]

(Update 21 มีนาคม 2561)


พระราชพิธีอภิเษกสมรส



....ครั้นถึงวันจันทร์เดือน ๖ ปีขาล พุทธศักราช ๑๑๙๘ พระราชพิธีสำคัญในนครละโว้ก็ได้ถูกจัดขึ้น คือกษัตริย์ละโว้องค์ใหม่ (เจ้ารามราช) เข้าสู่พิธีอภิเษกสมรสกับ "เจ้าหญิงจามะเทวีฯ" และเจ้าหญิงพระพี่เลี้ยงทั้งสองคือ "เจ้าหญิงปทุมวดี" และ "เจ้าหญิงเกษวดี"

เครื่องราชบรรณาการถูกส่งมาจากที่ต่าง ๆ ประมาณมูลค่ามิได้ พระขนิษฐาของเจ้าชายโกสัมภีได้เสด็จมาในราชพิธีนี้ด้วย ฉะนั้นภายในพระราชวังละโว้คืนนั้น สว่างไสวด้วยประทีปโคมไฟ

ณ เพลาบ่ายแก่ของวันนั้น เจ้าชายและเจ้าหญิงทั้งหมดภายใต้ด้ายมงคลบนพระเศียร น้ำสังข์หยดแรกจากพระหัตถ์ของพระราชบิดา ก็หยดรินสู่พระหัตถ์ที่ประนมเป็นรูปดอกบัวตูมของเจ้าหญิง สายธารแห่งน้ำสังข์เย็นเยือกถึงส่วนลึกแห่งดวงใจ

"สมเด็จพระสังฆราช" สวดชัยมงคลคาถา พราหมณ์ก็ประกอบพิธีมงคลเสียงมโหรีปี่พาทย์ บรรเลงเพลงอยู่เจื้อยแจ้ว ตราบกระทั่งล่วงเข้ายาม ๑ กลางคืนเสียงมโหรีก็คลายด้วยทำนองเพลงพระบรรทม ดังกังวานขึ้นช้า ๆ ฟังแล้วทำให้ดวงใจทุกผู้มีชีวิตชีวา

ครั้นงานพระราชพิธีผ่านไปได้ ๓ วัน พระเจ้าละโว้พระองค์ใหม่พร้อมทั้งพระมเหสี ทั้งหมดได้เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค ตามพระราชประเพณี หลังจากเจ้าหญิงที่ทรงระหกระเหิรไปจากระมิงค์นคร ได้เสวยสุขกับพระราชสวามีทุกนิรันดร์วันคืน

สร้างนครงามฟ้า (นครสวรรค์)

...และในปีนี้พระราชินีจามะเทวีฯ ทรงโปรดให้สร้างนครอันสวยงามขึ้นที่ "สุวรรณบรรพตนคร" แล้วทรงตั้งนามให้ใหม่ว่า "นครงามฟ้า" หรือ "นครฟ้างาม" ( เขาทอง จ. นครสวรรค์ ) เป็นนครที่สวยงามโอ่อ่า มีปราสาทราชวังดุจเมืองสวรรค์


......ตามประวัติหนังสือเล่มนี้ ทำให้ทราบว่า "นครสวรรค์" เดิมชื่อว่า "นครงามฟ้า" และพระแม่เจ้าฯ เป็นผู้สร้างไว้นั่นเอง

จากพระราชพิธีสำคัญดังกล่าว พอจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยแท้ ๆ ที่ได้รับสืบทอดกันมาช้านานแล้ว สังเกตพิธีกรรมได้ กล่าวถึง "สมเด็จพระสังฆราช" ด้วย

แสดงว่าพระพุทธศาสนากำลังเจริญรุ่งเรือง คนสมัยนั้นจึงมีศีลธรรมอันดีงาม สมกับที่อยู่ภายใต้ร่มเงาของพระพุทธศาสนา บ้านเมืองจึงมีความสงบสุข

แต่ที่มีการกล่าวถึง "พระขนิษฐา" หมายถึงน้องสาวของเจ้าชายกรุงโกสัมภี ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดศึกสงครามขึ้น ก่อนที่จะมีพระราชพิธีอภิเษกสมรส เนื่องจากเจ้าชายโกสัมภีทรงพอใจพระรูปพระโฉมของพระราชธิดาจามะเทวี

เมื่อไม่สมอารมณ์หมายก็ยกทัพมาประชิดติดพระนคร พระราชธิดาจึงอาสาทรงนำทัพเอง ในที่สุดก็สามารถปราบปรามข้าศึกอย่างราบคาบ

นับว่าเป็นการออกศึกที่มีชัยชนะเป็นครั้งแรกของพระแม่เจ้า และสถานที่เจ้าชายต่างเมืองต้องมาสิ้นพระชนม์ จึงให้ชื่อว่า “ วังเจ้า” (ตาก) ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา...สวัสดี

โพสต์แนะนำ